''แซนโฏนตา'' ประเพณีบูชาบรรพบุรุษ ตำนานที่สืบทอดมานานกว่า1,000 ปี ของชาวสุรินทร์
''แซนโฏนตา'' ประเพณีบูชาบรรพบุรุษ ตำนานที่สืบทอดมานานกว่า1,000 ปี ของชาวสุรินทร์ หนึ่งเดียวเมืองช้าง...“แซนโฎนตา” อีกประเพณีหนึ่ง ที่มีความสำคัญ ชาวสุรินทร์ รวมถึงอีกหลายพื้นที่แถบอีสานใต้ ปฏิบัติสืบทอดกันมายาว นานเป็นประเพณีที่แสดงออกถึงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ความรัก ความผูกพันของสมาชิกในครอบครัว เครือญาติ รวมถึงชุมชนต่างๆ สำหรับคำว่า “แซนโฎนตา” เป็นภาษาเขมร โดยคำว่า “แซน” หมายถึงการเซ่นไหว้ การบวงสรวง “โฎน” หมายถึง ยาย หรือย่าและตา หมายถึงตา หรือปู่ ดังนั้น “โฎนตา” หมายถึงยาย ย่า ตาและปู่ การทำบุญให้ปู่ย่าตายาย หรือบรรพบุรุษ ที่ล่วงลับไปแล้ว สำหรับเครื่องเซ่นไหว้ การเซ่นไหว้ศาล ปู่ตาประจำหมู่บ้าน การเซ่นไหว้ศาลพระภูมิประจำบ้าน การประกอบพิธีกรรมแซนโฎนตา ที่บ้าน การประกอบพิธีกรรมบายเบ็ญ (เครื่องเซ่นไหว้) การประกอบพิธีกรรมที่วัด ประกอบด้วย ปลานึ่ง ปลาย่าง หมูย่าง ไก่ย่าง แกง วุ้นเส้น แกงกล้วย ต้มยำไก่ ลาบหมู ไก่นึ่ง ต้องเป็นไก่ทั้งตัวเอา เครื่องในออกอาหารหวาน ได้แก่ ข้าวต้มมัด ใบมะพร้าว ขนมเทียน ขนมนางเล็ด ขนมโชค หรือ...